ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ค้อ, บะก๊อ,บะค้อ
ค้อ, บะก๊อ,บะค้อ
Livistona speciosa Kurz
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Arecaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Livistona speciosa Kurz
 
  ชื่อไทย ค้อ, บะก๊อ,บะค้อ
 
  ชื่อท้องถิ่น มะก๊อ(ไทลื้อ), กุหยี่ (ม้ง), กี้น้อม(เมี่ยน), โลหล่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), บะค้อ,บะก้อ(คนเมือง), ลำแผละค้อ(ลั้วะ), หน่องเก๊า(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ก้อเป็นไม้ปาล์มต้นเดี่ยว ลำต้นขนาดประมาณ 30 ซม. ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร มีกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสับหว่างกันเป็นชั้นๆ มองเห็นได้ชัดเจน
 
  ใบ ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ เป็นกระจุกที่ปลายยอด รูปพัด ขอบใบจักเว้าลึกไม่ถึงครึ่งแผ่นใบ ใบเป็นจีบเวียนรอบ ใบอ่อนสีเขียวเข้มเป็นมัน
 
  ดอก ช่อดอกมีขนาดใหญ่ ออกตามซอกกาบใบ ยาว 1.50 เมตร ผลกลุ่ม ออกตามซอกกาบใบ เป็นพวงขนาดใหญ่
 
  ผล ผลย่อยรูปทรงกลม ผลสดสีเขียว เมื่อแก่สีเขียวคล้ำอมม่วง เนื้อผลสีส้ม เมล็ดเดี่ยว ทรงกลม สีเหลือง
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก นำมาคลุกเกลือแล้วใส่ถุงพลาสติกนำไปตากแดดไว้ 1วัน จากนั้นนำมาบีบเอาเปลือกผลกินกับข้าวเหนียว(ไทลื้อ)
หน่ออ่อน ใช้ประกอบอาหาร, ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน)
ผลสุก รับประทานได้หรืออาจนำไปแกงใส่เนื้อหมู(ม้ง)
ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง, ผล นำไปต้ม แล้ว รับประทานเนื้อสีขาวข้างใน(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล นำไปต้ม ใส่เกลือเล็กน้อย รับประทานเนื้อข้างนอก, ลำต้น แกนข้างใน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(คนเมือง)
- ใบ นำมาพับแล้วมัดเรียงเป็นตับใช้มุงหลังคา(ม้ง,เมี่ยน,คนเมือง,ปะหล่อง,ลั้วะ)
ใบ ตากแห้ง ใช้ทำไม้กวาด(คนเมือง)
ใบ ตากให้แห้ง เย็บต่อกันด้วยไม้ไผ่เรียงเป็นตับ แล้วใช้มุง หลังคา หรือใช้ทำไม้กวาด(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ นำมาทำเป็นตับแล้วใช้เป็นบานหน้าต่างหรือหลังคา(ไทลื้อ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง